พิณ โดยทั่วไป จะติดขั้นแบ่งเสียง เพื่อแบ่งห้องเสียงหรือโน้ต ดังนี้ (กรณีพิณสามสาย)
พิณ หนึ่งตัว ที่ติดขั้นแบ่งเสียงแบบมาตรฐาน สามารถเล่นได้ทุกบันไดเสียง หรือทุกคีย์ที่แคนเล่นได้ หมายถึง เล่นในบันไดเสียงลายใหญ่(Am) ลายน้อย(Dm) ลายเซ(Em) ลายสุดสะแนน(C) ลายโป้ซ้าย(F) และลายสร้อย(G) ได้ครบ และเล่นได้เต็มสเกลกว่าแคน เพราะพิณ มีติดขั้นแบ่งเสียง ฟา# (ฟาชาร์ป) ด้วย แต่การจับโน้ต หรือไล่โน้ต ให้ได้ครบทุกบันไดเสียงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งผู้ฝึกพิณ จำต้องฝึกหัดต่ออีกหลายขั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นแบ่งเสียงแบบมาตรฐาน ยังไม่สามารถไล่สเกลเสียงได้ครบสเกลจริงๆ ในบางบันไดเสียง ผู้เล่นพิณบางคน อาจจะติดขั้นแบ่งเสียงเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ไล่สเกลเสียงได้ละเอียดขึ้น ซึ่งนั่นคือ เป็นพิณพิเศษส่วนตัวของมือพิณนั้นๆ มือพิณคนอื่น ซึ่งไม่ถนัดในขั้นพิณแบบนั้น อาจจะเล่นไม่ได้ หรือเล่นไม่คล่อง
ที่มา : ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.isan.clubs.chula.ac.th
พิณ หนึ่งตัว ที่ติดขั้นแบ่งเสียงแบบมาตรฐาน สามารถเล่นได้ทุกบันไดเสียง หรือทุกคีย์ที่แคนเล่นได้ หมายถึง เล่นในบันไดเสียงลายใหญ่(Am) ลายน้อย(Dm) ลายเซ(Em) ลายสุดสะแนน(C) ลายโป้ซ้าย(F) และลายสร้อย(G) ได้ครบ และเล่นได้เต็มสเกลกว่าแคน เพราะพิณ มีติดขั้นแบ่งเสียง ฟา# (ฟาชาร์ป) ด้วย แต่การจับโน้ต หรือไล่โน้ต ให้ได้ครบทุกบันไดเสียงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งผู้ฝึกพิณ จำต้องฝึกหัดต่ออีกหลายขั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นแบ่งเสียงแบบมาตรฐาน ยังไม่สามารถไล่สเกลเสียงได้ครบสเกลจริงๆ ในบางบันไดเสียง ผู้เล่นพิณบางคน อาจจะติดขั้นแบ่งเสียงเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ไล่สเกลเสียงได้ละเอียดขึ้น ซึ่งนั่นคือ เป็นพิณพิเศษส่วนตัวของมือพิณนั้นๆ มือพิณคนอื่น ซึ่งไม่ถนัดในขั้นพิณแบบนั้น อาจจะเล่นไม่ได้ หรือเล่นไม่คล่อง
ที่มา : ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.isan.clubs.chula.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น